นายจ้างหลายรายพบการกระทำความผิดของลูกจ้าง ไม่ว่าการกระทำผิดนั้นจะเป็นการกระทำผิดตามที่กฎหมายกำหนดให้เลิกจ้างได้ทันที ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 หรือผิดระเบียบข้อบังคับกรณีร้ายแรง นายจ้างมักใช้สิทธิเลิกจ้างลูกจ้างรายนั้นทันที แต่ปรากฎว่าลูกจ้างกลับนำเรื่องเลิกจ้างไปร้องเรียนต่อแรงงานจังหวัด หรือ ศาลแรงงาน ว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เรียกค่าชดเชย เรียกค่าเสียหาย และส่วนใหญ่นายจ้างมักจะแพ้คดีด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งดังต่อไปนี้
1.ไม่มีหลักฐานว่าลูกจ้างกระทำความผิดดังกล่าวจริง
2.ลักษณะการกระทำความผิดดังกล่าวยังไม่ร้ายแรงถึงขนาดที่จะเลิกจ้างได้ทันที
3.นายจ้างบอกเลิกจ้างไม่ถูกต้อง ไม่แสดงเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบ
4.ความผิดเดียวกัน ลงโทษไม่เท่ากัน เลือกปฏิบัติ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ขั้นตอนก่อนที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างสักคนที่สำคัญคือ ต้องทำการรวบรวมพยานหลักฐาน ทำการสอบสวน สอบปากคำพยาน และสอบปากคำลูกจ้างที่กระทำผิด เมื่อพยานหลักฐานปรากฎชัดแล้วว่ากระทำความผิดจริง จะมีขั้นตอนอีกเล็กน้อยที่เป็นเทคนิคเฉพาะบุคคลในการกันไม่ให้ลูกจ้างผู้นั้นกลับมาฟ้องหรือเรียกร้องนายจ้างอีกได้ เทคนิคเหล่านี้ขึ้นอยู่กับผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนจะให้คำแนะนำ